บทความสาระน่ารู้
พระหยกเชียงราย
เปิดอ่าน 7957 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว
วัดพระแก้ว เชียงราย
พระหยกเชียงราย
เนื่องในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พระชันษา เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย
ได้จัดสร้าง พระแก้วหยกเชียงราย ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า
วัดพระแก้วแห่งนี้เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน การสร้าง พระแก้วหยกเชียงราย ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้สักการบูชาและน้อมจิตรำลึกว่า
วัด (พระแก้ว) นี้ ก็มีความสำคัญคู่พระบารมีของพระองค์ (พระแก้วมรกต) อีกทั้งเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐
พระชันษา ด้วยพระองค์ทรงเปรียบประดุจประทีปนำควาเจริญก้าวหน้ามาสู่เมืองเชียงราย
พระแก้วหยกเชียงราย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิราบฐานเขียง ขนาดหน้าตักว้าง
๔๗.๙ ซ.ม. สูง ๖๕.๙ ซ.ม. ซึ่งเป็นส่วนสัดที่ใกล้เคียงกับพระแก้วมรกต (กว้าง ๔๘.๓ ซ.ม.
สูง ๖๖ ซ.ม.) สร้างด้วยหยกชนิดที่ดีที่สุดจากประเทศแคนาดา ซึ่งมิสเตอร์ ฮูเวิร์ด
โล เป็นผู้นำมาถวายเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย โดยมีอาจารย์กนก วิศวะกุล
เป็นผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งให้มิสเตอร์เหยน หวุน หุ้ย
นายช่างแกะสลักหยกของโรงงานวาลินนานกู เมืองปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นผู้แกะสลัก โดยได้รับความอุปถัมภ์จาก พณฯ พลเอกชาติชาย และท่านผู้หญิงบุญเรือน
ชุณหะวัน เป็นประธานอุปถัมภ์และบริจาคเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้าง
เมื่อการแกะสลัก พระแก้วหยกเชียงราย เสร็จเรียบร้อยแล้ว มิสเตอร์ฮูเวิร์ด
โล ได้กราบอาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ พร้อมด้วย พระราชรัตนากร
(สมณศักดิ์ในขณะนั้นของพระธรรมราชานุวัตร
เจ้าอาวาสวัดพระแก้วเชียงรายรูปปัจจุบัน) และคณะรวม ๑๕ ท่าน เดินทางไปรับมอบถวาย ซึ่งได้ประกอบพิธีขึ้น ณ
พระวิหารวัดกวางจี้ มหานครปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ในพิธีนี้
ได้มีพระสงฆ์จีนและชาวพุทธเมืองปักกิ่งมาร่วมพิธีจำนวนหลายร้อยคน
เมื่อวันที่ ๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี้
ได้พระราชทานนามพระพุทธรูปหยกว่า พระพุทธรตนากร
นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นอากรแห่งรัตนะ เป็นอนุสรณ์ ๙๐ พรรษา
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามสามัญว่า พระหยกเชียงราย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ในวันศุกร์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.
๒๕๓๔ และได้เสด็จพระราชดำเนินในพิธี ตั้งแต่ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย
และทรงจุดเทียนชนวนถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงจุดเทียนชัย
ทางจังหวัดเชียงรายได้จัดทำพิธีอัญเชิญและสมโภชพระหยกเชียงราย ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
โดยในวันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ ได้เริ่มเคลื่อนขบวนรถอัญเชิญพระแก้วหยกจากวัดศรีโคมคำ
อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และในวันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๐๙.๐๙ น.
ขบวนอัญเชิญพระพุทธรูปเข้าเมือง อันประกอบด้วยขบวนเสลี่ยง เจ้าประคุณ
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ขบวนพระสงฆ์ ๑๐๐๐ รูป และขบวนแห่งเครื่องสักการบูชา นำโดยท่านผู้หญิงบุญเรือน
ชุณหะวัน ก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่วัดพระแก้วเชียงราย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัดในเชียงราย
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
ชาดกเรื่องกาเผือก พระพุทธเจ้า 5 พระองค์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
กลองมโหระทึก
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
ตักบาตรเทโว
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
ตาลปัตร
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
ตำนานพระแก้วมรกต
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
ทศชาติชาดก
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
ประวัติศาสตร์จังหวัดเชียงราย
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
ปี๋เปิ้ง
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
เป็งปุ๊ด
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระเจดีย์
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระเจ้าทันใจ
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระธรรมราชานุวัตร
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระบรมสารีริกธาตุ
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระประธาน
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระประวัติพญามังราย
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระพุทธรูปประจำวันเกิด
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระหยกเชียงราย
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
พระอุโบสถ
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
วัดพระแก้ว
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
หอพระหยก
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
โฮงหลวงแสงแก้ว
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553